วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อย.เผยพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลักลอบใส่ยาลดความอ้วน " ไซบูทรามีน "... อันตราย!

อย.เผยพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลักลอบใส่ยาลดความอ้วน " ไซบูทรามีน "... อันตราย!

อย. ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร พบ " ทเวนตี้ โฟร์ อินซ์ " ลักลอบใส่ไซบูทรามีน ซึ่งเป็น ยาลดความอ้วนและเป็นยาควบคุมพิเศษต้องสั่งจ่าย โดยแพทย์และขายได้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น จึงอาจมีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

นพ. นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการ- อาหารและยา (อย.) ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคหลายรายถึง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทเวนตี้ โฟร์ อินซ์ ว่า ซื้อมารับประทานแล้วมีอาการใจสั่น เต้นเร็ว น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว แต่เหนื่อง่าย ไม่มีแรง ดังนั้น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 อย. จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉลากระบุ " ทเวนตี้ โฟร์ อินซ์ " เลขสารบบอาหาร อย 10-1-04742-1-0034 ผลิตโดย หจก. เนเจอร์ส เบสท์ เฮลท์ โปรดักส์ เลขที่ 864 ถนน ประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ จัดจำหน่ายโดย บริษัท ท็อป ออฟ มายด์ จำกัด เลขที่ 48/19 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ รุ่น L/C NO.A08431605 MFG.date 16/05/08 Best before 16/05/11 และรุ่น L/C NO.A08420705 MFG.date 07/05/08 Best before 07/05/11 ปรากฏผลการตรวจวิเคราะห์ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบยาไซบูทรามีน (Sibutramine) ซึ่งจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และขาย ได้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้มาตรการติดตามความปลอดภัยในสถานพยาบาล (Safety Monitoring Program ,SMP)

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินคดีกับผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว โดยอาจจัดเป็น อาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ได้ แจ้งให้บริษัท ท็อป ออฟ มายด์ จำกัด งดจำหน่ายและ เรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทเวนตี้ โฟร์ อินซ์ พร้อมทั้งได้แจ้ง เวียนหนังสือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อขอความร่วมมือ ให้ตรวจสอบ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวแล้ว

รองเลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า ยาไซบูทรามีนเป็นยาที่มีผลข้างเคียง ที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความ- ดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากนักแต่มีผลให้ผู้ป่วย ประมาณร้อยละ 5 จำเป็นต้องหยุดยา ส่วนผล ข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ ขาด เลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรค ต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เป็นต้น

รองเลขาธิการ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมักพบการโฆษณาแอบอ้าง ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่า สามารถช่วยลดน้ำหนัก จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ เพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา ซึ่งบางรายอาจ ลักลอบใส่ยาแผนปัจจุบันดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดอันตราย ต่อผู้บริโภคได้ ที่จริงแล้วการลดและควบคุมน้ำ หนักที่ดีและได้ผล คือ ผู้บริโภคควรควบคุมการบริโภคอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกาย โดยบริโภคอาหารให้ ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกัน โรคได้ด้วย ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลอกลวงผู้บริโภค เช่น อ้างสรรพคุณ ในการรักษาโรค หรืออ้างว่าสามารถลดความอ้วนได้ ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร 1556

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เดือนตุลาคม ข่าวแจก 9 / ปีงบประมาณ 2552


.....................................................................................................................................................................
Link : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น