วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

น้ำมันโบราจ

น้ำมันโบราจ


น้ำมันโบราจ (Borage oil) จัดเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว อยู่ในกลุ่มโอเมก้า 6 ชื่อว่า แกมมาไลโนเลนิก (Gamma Liaolenic Acid, GLA) ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ เนื่องจากร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องสร้างจากกรดไขมันจำเป็น GLA นี้ ไม่พบในพืชน้ำมันทั่วไป หรืออาจพบได้น้อยมาก และพบได้ในพืชพวกสาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น นอกจากนี้พบมากในน้ำนมคน (ในช่วง 3 เดือนแรก) น้ำมันโบราจ และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส แต่จำนวนเปอร์เซนต์ของ GLA ในน้ำโบราจจะมีปริมาณมากกว่าในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จึงเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่บริโภคอาหารที่ขาดกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก กันมาก

แกมมาไลโนเลนิก (GLA) เป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ในการสร้างสารที่มีประโยชน์มากมายในเซลล์ ช่วยรักษาการสร้างสมดุลของการทำงานของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ และเป็นสารตั้งต้นสารกึ่งฮอร์โมนโพสตาแกลนดินที่มีผลมากมายต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาการที่เกี่ยวกับประจำเดือนของสตรี (Premenstrual Syndrome) เป็นอาการผิดปกติของสตรี อาจเกิดขึ้นได้ในระยะ 14 วัน ก่อนมีประจำเดือน จนถึง 2-3 วันหลังมีประจำเดือน 95% ของ สตรีจะมีอาการที่เกี่ยวกับการมีประจำเดือนอาการเหล่านี้ เช่น ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อยากอาหารมากเกินไป กังวล ตื่นเต้น มึนงง หงุดหงิด ง่วงนอน นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หอบ เหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ แน่นท้อง เจ็บหน้าอก ท้องผูก ท้องเสีย หน้าแดง ปวดศีรษะไมเกรน ปวดข้อ บวมตามมือตามเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปวดอุ้งเชิงกราน เจ็บเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

ปัจจุบันนี้เรา พบว่า ฮอร์โมนโพรสตาแกรนดินมีมากถึง 20 ชนิด แต่ที่สำคัญๆ มีอยู่3ชนิด เรียกชื่อตามหมายเลข คือ PGE1, PG2, PG3

ฮอร์โมน PGE1และPG3 เป็นฮอร์โมนที่มีประโยชน์ มีผลต่อความสุขภาพที่ดีของร่างกาย ส่วนฮอร์โมน PG2 เ ป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามคือทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ไม่สบาย ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เรามี ฮอร์โมน PGE1 และ PG3 มากๆ เราก็จะมีความสุขสบายดี แต่ถ้ามีฮอร์โมน PG2 มากเกินไปจะส่งผลให้มีความไม่สบาย หรือสุขภาพที่ไม่ดี ดังแผนภาพนี้



จากงานวิจัยพบว่า เมื่อใดที่เรามีปริมาณฮอร์โมนPGE1และPG3 มาก สุขภาพของเราก็จะแข็งแรง แต่ถ้ามีฮอร์โมน PG2 มาก เราก็มีสุขภาพที่ไม่ดี เจ็บป่วยได้ง่าย เราจึงควรได้รับ GLA ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน PGE1 และPG3 เพื่อให้ร่างกายของเรานำไปสร้างฮอร์โมน PGE1และPG3 เอาไว้คานฮอร์โมน PG2 ให้สมดุล เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเรา

ส่วนกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หากทำการตรวจเลือดหากรดไขมันอิ่มตัวในผู้หญิง ที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนเช่นคัดหน้าอก พบว่าระดับของกรดไขมันจำเป็นไลโนเลอิก (LA)และแอลฟาไลโนเลอิก (ALA) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เมตาบอไลท์ของมันมีน้อย และพบว่าปริมาณของกรดไขมันอิ่มตัวในเลือดมีสูงกว่าปกติจึงต้องได้รับจากภายนอกเสริมเข้าไป เช่นสารสกัดจากน้ำมันเมล็ดโบราจ การรักษาอาการก่อนมีประจำเดือน ระหว่างมีประจำเดือน และหลังมีประจำเดือนจะต้องงดปริโภคกรดไขมันอิ่มตัวลง เนื่องจากกรดไขมันเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการสร้างฮอร์โมนโพรสตาแกรนดิน PGE1ซึ่งต้องงดรวมไปถึงขนมหวาน น้ำตาลขัดขาว ช็อคโกแลต ชา กาแฟ แอลกอฮอร์และยาคุมกำเนิด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ทำให้ร่างกาย ไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันแกมม่าไลโนเลอิก (GLA)ในน้ำมันโบราจไปเป็น PGE1 ด้วย

นอกจากนี้ ผิวของเราก็ต้องการกรดไขมันที่จำเป็นเพื่อให้คงสภาพเดิมไม่เหี่ยวย่น เมื่อคนเราอายุมากขึ้นผิวหนังจึงต้องการกรดไขมันที่จำเป็นจากอาหารที่เรารับประทานมากกว่าเดิม มีผู้หญิงหลายคนเลิกรับประทานอาหารที่มีไขมันทุกอย่างเพื่อให้ผอมอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ร่างกายขาดสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมันเช่น วิตามินเอและวิตามินอี ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการมีผิวพรรณที่สวยใส เล็บแข็งแรงและผมเป็นเงางาม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนหากร่างกายขาดกรดไขมันก็คือ ผิวหนังจะแห้งและหยาบกร้าน เล็บเปราะและหักง่าย ผมที่บางลงและไม่เงางาม รวมทั้งเกิดรังแคอาจนำไปสู่ภาวะผิวเสียอย่างรุนแรงเช่น อาการคัน โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง (Psoriasis) กรดไขมันจำเป็นชนิดแกมม่าไลโนเลอิก (GLA) ที่พบมากในน้ำมันเมล็ดโบราจ ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการยับยั้งการออกฤทธิ์ของสาร Leukotriene B4 ซึ่งเป็นสารเคมีที่กระตุ้นอาการอักเสบ การวิจัยทางคลินิกก็สนับสนุนการใช้น้ำมันเมล็ด โบราจเป็นอาหารเสริมเพื่อแก้ปัญหาผิวหนังในระยะยาวให้กับเด็กและผู้ใหญ่

วิธีรับประทานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รับประทานวันละ 1-2 เม็ด ก่อนนอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น